วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สารเนื้อผสม

สารเนื้อผสม

สารเนื้อผสมเป็นของผสมที่ได้จากการนำสารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมารวมกันแล้วสารเหล่านั้น

ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน หรือแยกชั้นจากกัน สามารถมองเห็นและระบุชนิดขององค์ประกอบได้ เช่น พริกกับเกลือ สามารถบอกได้ว่าส่วนไหนคือพริก ส่วนไหนคือเกลือ องค์ประกอบแต่ละส่วนยังคงสมบัติเดิม ทุกประการ

เราสามารถแบ่งส่วนประกอบของสารเนื้อผสมออกเป็น 2 ส่วนเหมือนสารละลาย คือ ตัวทำละลาย และ ตัวถูกละลาย แต่ขนาดอนุภาคของตัวถูกละลายในสารเนื้อผสมมีขนาดใหญ่กว่าขนาดอนุภาคของตัวถูกละลาย ในสารละลาย ดังนี้

เปรียบเทียบขนาดของอนุภาคในสารละลายกับสารเนื้อผสม

ชนิดของสาร เส้นผ่าศูนย์กลางของอนุภาค(cm)

1. สารละลาย น้อยกว่า 10-7

2. คอลลอยด์ 10-7– 10-4

3. สารแขวนลอย มากกว่า 10-4


คอลลอยด์ (Colloid) เป็นสารเนื้อผสมที่มีขนาดอนุภาคของตัวถูกละลายใหญ่กว่าอนุภาคในสารละลาย

มีลักษณะข้นคล้ายกาว เช่น นมสด วุ้น เยลลี่ ฟองน้ำ สบู่ น้ำสลัด น้ำแป้ง เป็นต้น องค์ประกอบของคอลลอยด์

จะไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน จะแยกชั้นออกจากกัน จึงต้องมีตัวประสาน ( Emulsifier) เช่น น้ำสบู่เป็นตัวประสานให้น้ำกับน้ำมันไม่แยกชั้นจากกัน โดยน้ำมันจะแตกเป็นเม็ดเล็กๆ แทรกอยู่ในน้ำ สมบัติอีกอย่างหนึ่งของคอลลอยด์ คือ เมื่อแสงเดินทางผ่านคอลลอยด์ จะมองเห็นเป็น ลำแสง เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์ทินดอลล์(Tyndall effect)


สารแขวนลอย (Suspension) เป็นสารเนื้อผสมที่มีขนาดอนุภาคใหญ่กว่าอนุภาคในคอลลอยด์ สามารถ

มองเห็นส่วยผสมได้ชัดเจน เช่น น้ำโคลน คอนกรีต น้ำพริก ดินปืน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น