วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สารละลาย

สารละลาย (Solution)

สารละลาย เป็นของผสมเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปละลายรวมเป็น เนื้อเดียวกัน มีสัดส่วนนขององค์ประกอบเหมือนกันตลอดทั้งสารละลายนั้น สารละลายจะมีสมบัติ บางประการเหมือนสมบัติของสารบริสุทธิ์ที่เป็นองค์ประกอบ เราสามารถแบ่งองค์ประกอบของสารละลาย

ได้เป็น 2 ชนิด คือ ตัวทำละลาย (Solvent) ตัวถูกละลาย (Solute) โดยมีเกณฑ์ในการกำหนด ดังนี้

1. สารละลายมีสถานะเหมือนสารใด ให้สารนั้นเป็นตัวทำละลาย เช่น สารละลายโซเดียมคลอไรด์

ประกอบด้วย น้ำ กับ โซเดียมคลอไรด์ สารละลายมีสถานะเป็นของเหลวเหมือนน้ำ ดังนั้น

น้ำ เป็นตัวทำละลาย โซเดียมคลอไรด์ เป็นตัวถูกละลาย

2. ในกรณีที่สารละลาย และสารบริสุทธิ์ที่เป็นองค์ประกอบ มีสถานะเดียวกัน สารใดมีปริมาณ

มากที่สุด สารนั้นเป็นตัวทำละลาย เช่น นาก เป็นสารละลายที่มีสถานะเป็นของแข็งเกิดจาก ทองคำ

ผสมกับทองแดง โดย นาก 40 เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วย ทองคำ ร้อยละ 40 ทองแดงร้อยละ 60 ดังนั้น

ทองคำเป็นตัวถูกละลาย ทองแดงเป็นตัวทำละลาย ถ้านาก 60 เปอร์เซ็นต์ จะประกอบด้วย ทองคำ

ร้อยละ 60 ทองแดงร้อยละ 40 ดังนั้น ทองคำเป็นตัวทำละลาย

เปรียบเทียบสมบัติของสารละลายกับสมบัติขององค์ประกอบ

ตัวทำละลาย ตัวถูกละลาย สารละลาย

น้ำ เป็นของเหลว ไม่มีรส เกลือแกง เป็นของแข็ง มีรสเค็ม สารละลายเกลือ เป็นของเหลว มีรสเค็ม

น้ำ เป็นของเหลว ไม่มีรสและกลิ่น แอลกอฮอล์ เป็นของเหลว มีกลิ่น สารละลายแอลกอฮอล์

เป็นของเหลวมีกลิ่นแอลกอฮอล์

การบูร เป็นของแข็งสีขาว มีกลิ่นเฉพาะตัว พิมเสน เป็นของแข็งสีขาว มีกลิ่นเฉพาะตัว สารละลายเป็นของแข็งสีขาวมีกลิ่นของพิมเสนและการบูร

จะเห็นว่าสารละลายมีสมบัติของทั้งตัวทำละลายและตัวถูกละลายอยู่ด้วยกัน

สถานะของสารละลาย

สารละลายมีได้ทั้ง 3 สถานะ ดังนี้

1. สารละลายที่เป็นก๊าซ เช่น อากาศ ประกอบด้วย ก๊าซไนโตรเจนร้อยละ 80 ก๊าซออกซิเจน

ร้อยละ 20 และก๊าซอื่นๆ ร้อยละ 2 โดยมวล

2. สารละลายที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเกลือ น้ำเชื่อม ทิงเจอร์ไอโอดีน เป็นต้น

3. สารละลายที่เป็นของแข็ง เช่น นาก ทองเหลือง ทองสัมฤทธิ์ ฟิวส์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น