วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

2012 วันสิ้นโลก

บทความเรื่องวันสิ้นโลกนี้ ครูเอกได้รับ FW mail มาจากเพื่อนคนหนึ่ง อ่านดูแล้วสนุกดี ทำให้เราได้จินตนาการไปต่างๆนาๆ ท่านที่ได้อ่านก็ขอจงใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยนะครับ มองกลางๆเข้าไว้ แต่ก็อย่าประมาท สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้คือ ทำวันนี้ให้ดีที่สุดและก็อีกอย่าง...ทำอย่างไรไม่ให้โลกมันร้อนไปกว่านี้....จริงมั้ยครับ





2012 อุบัติภัยวันสิ้นโลก

ด้วยความสงสัยของว่าทำไม 2012 จะมีข่าวลือเกี่ยวกับวันสิ้นโลกมากมายเหลือเกินบางแหล่งก็อ้างน้ำท่วมจาเหตุโลกร้อนบางแหล่งก็อ้างไบเบิ้ลเพราะพระเจ้ากำหนดมาแต่มีสิ่งที่นึงที่มีทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พร้อมเกี่ยวปรากฎการณ์ที่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้และถ้าเกิดขึ้นก็จบ... ไม่เหมือนกับ LHC ที่กลัวโอกาสว่าจะเกิดหรือเปล่าเท่านั้น เรื่องนี้คือเรื่อง ดาวปริศานาดวงที่ 12 ของ ระบบสุริยะจักรวาลถ้าใครได้พอดูความปี 2002 จะได้ทราบว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ ดาวดวงที่ 12 ขึ้นมาอยู่ในระบบกาแล็คซี่เราดื้อๆแต่ความเป็นจริงนักดาราศาสตร์รู้จักดาวนี้มาตั้งแต่ปี 1982 แล้วซึ่งเป็นข่าวใหญ่โตมากช่วงเดือน พฤษภาคม เพราะผมก็ได้ดูเหมือนกันมันคือดาวที่มีชื่อตั้งทางวิทยาศาตร์ว่า นิบิรุ (Nibiru)



และด้วยหลักฐานโบราณวัตถุและนักโบราณคดีได้กล่าวไว้เนืองๆ ว่า...สิ่งของที่ไม่สามารถอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ได้เกิดจากดาวดวงนี้ แต่สิ่งที่เรารับรู้คือเจอดาวเคราห์ดวงใหม่ แล้วก็จบ...ทำไมถึงกล่าวอ้างเช่นนั้น? สิ่งที่เราไม่รู้มันคือสิ่งนี้ครับ....ดาวดวงนี้ทุนเดิมไม่ได้อยู่ในระบบกาแล็คซี่ทางช้างเผือกมาแต่เนิ่นๆ อยู่แล้วแต่... มีวงโคจรกว้างใหญ่ไพศาลมาก จนมาทับซ้อนลงบนกาแล็คซี่นี้

แปลว่า... ที่นักวิทยาศาสตร์เห็นเพิ่มมาดวงก็แปลว่ามันโคจรเข้ามาใกล้กาแล็คซี่เราสินะ .......
ถูกครึ่งเดียวครับ ความจริงมันเเข้ามาทับวงโคจรทั้งแถบเลย



รูปนี้คือเส้นวงโคจรของดาวนิบิรุครับ

มันเข้าใกล้มาจริงเร้อ?เส้นทางวงโคจร ทำให้เรารู้ได้ว่าทางเราส่องดาวบริเวณทิศใต้สุดของดาวโลกเราจะเห็นแต่ปัจจุบันนี้ ปีนี้สามารถเห็นได้ด้วยเปล่าแล้ว




(เส้นขาวๆ คือลูกศรชี้ตำแหน่งดาวนิบิรุครับ)

และสำหรับคนที่อยากเห็นแต่ไม่มีตังไปออสเตรเลียหรือประเทศอะไรที่อยู่ทางใต้ของโลกนะครับแนะนำให้ลองใช้โปรแกรม googleSky ดู ท่านจะเห็นเป็นวงแดงๆ อยู่วงเดียวทั้งท้องฟ้า นั่นหละครับ นิบิรุ...แล้วทำไม? มันเกี่ยวอะไรกับโบราณสถานและวัตถุในอดีตหละนักโบราณฯ สันนิษฐานว่า นิบิรุเคยโคจรเข้ามาใกล้ทีนึงแล้วในเมื่อหลายแสนปีก่อนแต่มารอบนี้ มาเทียบและทาบวงโคจรของดาวนิบิรุ คาดว่ามีโอกาสที่จะชนกันสูงหรือแม้เฉียดกันก็เกิดอันตรายเพราะแกนของดาวมีสนามแม่เหล็กอยู่ อาจจะทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวน เกิดภัยพิบัติธรรมชาติเกิดภาวะน้ำขึ้นกระทันหัน เกิดพายุต่างๆ นาๆและเค้าคาดการณ์ไว้แล้วว่า ปี 2012 เราสามารจะเห็นดาวนิบิรุ ใหญ่ขนาดดวงอาทิตย์ได้เลย เพราะมันเข้าใกล้เรามากแล้ว ข้อมูลอาจจะยังไม่แน่นพอ เพราะ NASA แม่งปิดข่าว เพราะกลัวว่าถ้าประกาศข่าวนี้แก่ชาวโลกรู้ท่านลองคิดดูสิว่าจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อท่านรู้ตัวว่าจะตายในอีกไม่กี่ปีข้าวหน้า ท่านจะใช้ชีวิตที่สุดเหวี่ยงเลยใช่มะ โลกจะเกิดอาชญากรรมเพิ่มขึ้น80% โลกทั้งโลกจะวุ่นวาย เค้าเลยปิดเป็นความลับ (เฮอๆดีเน้อ) แต่นักดาราศาสตร์ออกมาอธิบายเรื่องทฤษฎีความเป็นไปได้กันอย่างจ้าละหวั่นข้อมูลที่ยังขัดแย้งกันอยู่คือ บางแหล่งบอก ดาวฤกษ์ และอุกกาบาต เพราะขนาดของมันใหญ่กว่าดาวพฤหัส 2 เท่า!!!(ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบนี้)

ข่าวใหม่ล่าสุด 23 พ.ค. 2552 ช่อง 11 (4 ทุ่ม) มีการคุยเรื่อง ภัยพิบัติล้างโลก 2012 อาจารย์ สุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้วชาญไฮโดรเจน จากองค์การนาซ่า และเป็นผู้บุกเบิกรถยนต์ Hydrogen ในประเทศไทย ด้วยวิธีการใช้ไฟฟ้าแยกน้ำที่มีประสิทธิภาพสูง


อาจารย์ สุมิตร" ทำงานในองค์การ NASA ในสายงานคือ ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เพื่อสร้างยานอวกาศ เพื่ออพยพผู้คนจาก อุทกภัยน้ำท่วมโลกใน ค.ศ. 2012 (แต่รู้ในวงจำกัด) "อาจารย์ สุมิตร" ยืนยันว่าอีก 3 ปี ข้างหน้านี้ โลกกำลังจะเกิดหายนะขึ้นจากอุทกภัยน้ำท่วมโลกใน ค.ศ. 2012 แน่นอน
และคนในองค์การ NASA ทุกคนทราบเรื่องนี้มานานแล้ว แล้วได้สร้างยานอวกาศเพื่ออพยพผู้คนจาก อุทกภัยน้ำท่วมโลกใน ค.ศ. 2012 ใกล้เสร็จแล้ว (แต่ "อาจารย์ สุมิตร" ไม่ได้บอกว่าสร้างไว้กี่ลำ)



(ตึกใบหยกที่เราแสนจะภูมิใจในความสูง)

"อาจารย์ สุมิตร" ยังยืนยันด้วยว่า มนุษย์ต่างดาวนั้นมีจริง ปัจจุบันมีมนุษย์ต่างดาวมาทำงานร่วมกับองค์การ NASA โดยสื่อสารทาง "โทรจิต" ในการถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยี เพื่อช่วยมนุษย์จากอุทกภัยน้ำท่วมโลกใน ค.ศ. 2012 (มนุษย์บางคนเท่านั้นที่ถูกเลือกให้รอด) "อาจารย์ สุมิตร" ยังยืนยันด้วยว่าโลกมนุษย์เรา ไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว ในจักรวาลอื่นๆ ก็มีมนุษย์ต่างดาวประมาณ 200 จักรวาล ซึ่งโลกของเราเป็นเพียงจักรวาลเล็กๆ 1 จักรวาล เท่านั้น เราไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวหรอกนะ
"อาจารย์ สุมิตร" บอกว่า มนุษย์โลกสามารถติดต่อกับมนุษย์ต่างดาวมานานแล้วโดยทาง "โทรจิต" แต่ทาง "สหรัฐอเมริกา" นั้นค่อนข้างปกปิด เรื่องนี้ ทำให้คนส่วนมากในโลกไม่รู้ ในเมื่อไม่รู้ ก็จะมองว่าเรื่องมนุษย์ต่างดาวเป็นเรื่องเหลวไหล "อาจารย์ สุมิตร" เป็นนักวิทยาศาสตร์องค์การ NASA มาหลายปีแล้ว ท่านเคยไปบอกให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ของไทยควรเร่งสร้างยานอวกาศ เพื่ออพยพคนไทยจากอุทกภัยน้ำท่วมโลกใน ค.ศ. 2012 โดยเร็ว เพราะ "คุณสุวิช" มีเทคโนโลยีในการสร้างแล้ว ขาดก็แต่งบประมาณเท่านั้น แต่กลับไม่มีใครเชื่อ แถมมองว่าท่านเป็นบ้าอีกด้วย พวกฝรั่งเขารู้กันมานาน เขาสร้างยานอวกาศเพื่ออพยพผู้คนจากอุทกภัยน้ำท่วมโลกในค.ศ. 2012 เกือบเสร็จแล้ว แต่คนไทยยังไม่เชื่อ จะจมน้ำตายกันอยู่แล้ว ไม่รู้วันๆ คนไทยทำอะไรกันอยู่ น่าสงสารคนไทยจริงๆ"อาจารย์ สุมิตร" ยืนยันว่าอีก 3 ปี ข้างหน้านี้ โลกกำลังจะเกิดหายนะขึ้นจากอุทกภัยน้ำท่วมโลกใน ค.ศ. 2012 แน่นอน นี่เป็นเรื่องจริง ที่ฝรั่งเค้าตื่นตัวกันมาก โดยเฉพาะในหมู่นักวิทยาศาสตร์อวกาศ แต่คนไทยเกือบทั้งหมดยังไม่รู้เรื่องนี้เลยด้วยซ้ำ น่าสงสารคนไทยจริงๆ"อาจารย์ สุมิตร" กล่าวว่า คนไทยน่าจะเลิกทะเลาะกันได้แล้ว อีก 3 ปี ได้จมน้ำตายแน่ๆ เพราะอุทกภัยน้ำท่วมโลกใน ค.ศ. 2012นั้นเป็นวันหายนะที่ร้ายแรงมาก ร้ายแรงขนาดล้างโลกเลยทีเดียว ไม่งั้นมนุษย์ต่างดาวเค้าคงไม่มาทำงานร่วมกับองค์การ NASA เพื่อช่วยในการสร้างยานอพยพผู้คนในครั้งนี้เป็นแน่นี่เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องเหลวไหล เพราะ อาจารย์ สุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นนักวิทยาศาสตร์องค์การ NASA จริง มีตัวตนจริงๆ

ทาง NASA ได้คํานวนไว้เเล้ว
- ระบบอิเล็กโทรนิคจำนวนมากจะทำงานผิดปกติ (ระบบขีปนาวุธ ,computer)

- การอพยพของฝูงสัตว์ เช่น นก หรือปลาวาฬ ทำให้สูญเสียทิศทางและอื่นๆ

- ระบบภูมิคุ้มกันโรคในบรรดาสัตว์รวมถึงมนุษย์จะทำให้อ ่อนอย่างมาก

- ทำให้ภูเขาไฟเพิ่มขึ้น, เกิดการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก แผ่นดินไหว และแผ่นดินถล่ม

- สนามแม่แหล็กโลก (Magnetosphere) จะอ่อนแอลง และการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์จะเพิ ่มปริมาณถึงระดับอันตราย ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังตามมา ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้เเละในที่สุดเราก็จะตายกันหมด

(สนามแม่เหล็กโลกกำลังจะเปลี่ยนขั้ว)

- กลุ่มวัตถุในอวกาศที่มีเส้นผ่านมากมายจะเฉียดเข้าใกล ้โลกได้ง่ายขึ้น

-แรงดึงดูดของโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
นอกกรอบ

ทางโหราศาสตร์ - บ่งบอกว่าจะเกิดการเรียงตัวกันของ โลก กาแล็คซี่ทางช้างเผือก และดวงอาทิตย์

ทางโบราณคดี - อย่างที่พูดข้างต้นไว้...เป็นวันสุดท้ายในปฏิทินของช าวมายันมีเเค่ 2012 เท่านั้น

ทางการทำนาย - นอสตราดามุสได้ทำนายไว้กับราศีตีความแล้วสอดคล้องกับ ทางโหราศาสตร์

ทางด้าน UFO - ผู้ที่ติดต่อกับมนุษย์ต่างดาวได้อ้างว่ามนุษย์ต่างดา วได้บอกเค้า(แล้วแต่ความเชื่อ...)

ไม่ว่าจะทางใด ดูจากหลาย ๆ ทางแล้วชี้ไปในปีเดียวกัน ความเชื่อมั่นกับสิ่งที่จะเกิดในปี 2012 นั้นน่าจะมีอะไรเกิดการเปลี่ยนแปลงแน่ ๆ แต่ที่แน่ ๆ ในปัจจุบันผมมั่นใจว่ามันน่าจะเริ่มเกิดขึ้นแล้ว โดยสังเกตุจากผลกระทบจากภัยธรรมชาตินี่เอง เมื่อกลับมามองดูปี 2012 ก็เลยมานั่งพิจรณาดูเล่น ๆ (การนับเลขฐานสิบจะนับศูนย์ถึงเก้า) ถ้าเราตัดเลขสองออกก็จะได้เลขนับ 0->1->2 เมื่อมาดูเป็นปี พ.ศ. มันเป็นปี 2555 (เลยสวยมาก) ถ้าเราตัดเลขสองออกเช่นกัน จะได้เลข 5 เรียงตัวกัน 3 ตัวผมขอโยงไปเรื่องโหราศาตร์ที่จะมี โลก กาแล็คซี่ และดวงอาทิตย์ ที่จะเกิดการเรียงตัวกัน ผลลัพธ์นั้นคงบอกไม่ได้ อาจเกิดผลกระทบรุนแรงต่อโลกหรืออาจจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยก็ได้ เพราะสิ่งที่เราไม่รู้นั้นยังมีอีกมากมายทั้งในอวกาศและจักรวาล ยังที่บอกไวว่าดาวเเบบเราไม่ได้มีเเบบนี้ใบเดียวจริงๆมี200กว่าดวง


ดาว NIBIRU
ที่สามารถมองเห็นด้วยกล้องดดาว

....ปัจจัยที่ดาวนิบิรุชนดาวโลกในปัจจัยข้อนี้มีโอกาศชนถึง 95 เปอร์เซ็นโดยประมาณที่จะทำไห้โลกแตกและหายไปทั้งดวงและอีก 3 เปอร์เซ็นโดยประมาณโลกจะหายไปส่วนหนึงดาวโลกจะเกิดการขาดสมดุลทางด้านแรงโน้มถ่วงและทำไห้โลกเราอาจจะเกิดการเปลี่ยนวงโครจรและทำไห้มนุษย์ตายและลอยเควงควางอยู่กลางอากาศอีก 1 เปอร์เซ็นโดยประมาณดาวนิบิรุชนดวงจันทร์ทำไห้ดาวนิบิรุเปลี่ยนวงโคจรทำไห้ไม่ชนโลกแต่สะเก็ดดวงจันทร์จะตกลงมายังโลกและเกิดการเสียหายอยู่ดีและทำไห้น้ำถ้วมโลกเพราะไม่มีดวงจันทร์ทำไห้ไม่เกิดปรากฎการน้ำขึ้นน้ำลงจึงทำไห้นำถ้วมโลกอยู่ดีและอีก 0.02 โดยประมาณดาวนิบิรุเพียงแค่เฉียดโลกเฉยๆ
ทัง3อย่างNASAว่าจะเกิดขึ้น(พร้อมกัน)ในวันที่ 22หรือ21 ธันวาคม ค.ศ.2012
หรือ พ.ศ.2555

ประเทศไทย....

สารเคมีในชีวิตประจำวัน

ในชีวิตประจำวัน เราจะต้องเกี่ยวข้องกับสารหลายชนิด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน สารที่ใช้ในชีวิตประจำวันจะมี
สารเคมีเป็นองค์ประกอบ ซึ่งสามารถจำแนกเป็นสารสังเคราะห์และสารธรรมชาติ เช่น สารปรุงรสอาหาร สารแต่งสี
อาหาร สารทำความสะอาด สารกำจัดแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น ในการจำแนกสารเคมีเป็นพวกๆ นั้นเราใช้
วัตถุประสงค์ในการใช้เป็นเกณฑ์การจำแนก ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.1 ความหมายสารปรุงแต่งอาหาร
สารปรุงแต่งอาหาร หมายถึง สารปรุงรสอาหารใช้ใส่ในอาหารเพื่อทำให้อาหารมีรสดีขึ้น เช่น น้ำตาล น้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ซอสมะเขือเทศ และให้รสชาติต่างๆ เช่น
- น้ำตาล ให้รสหวาน
- เกลือ น้ำปลา ให้รสเค็ม
- น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว ซอสมะเขือเทศ ให้รสเปรี้ยว
2. เครื่องดื่ม

เครื่องดื่ม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์จัดเตรียมสำหรับดื่ม และมักจะมี น้ำ เป็นส่วนประกอบหลัก
บางประเภทได้คุณค่าทางโภชนาการ บางประเภทดื่มแล้วไปกระตุ้นระบบประสาท และบาง
ประเภทดื่มเพื่อดับกระหาย แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ น้ำดื่มสะอาด น้ำผลไม้ นม น้ำอัดลม
เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ชาและกาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


1) น้ำดื่มสะอาด
น้ำดื่มสะอาด เป็นเครื่องดื่มที่ไม่สิ่งอื่นเจือปน เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย ปัจจุบันน้ำดื่มสะอาดได้รับความนิยมมาก ผู้ผลิตมักจะบรรจุน้ำดื่มในขวดใสสะอาดแก้วที่สะอาด เหมาะสำหรับที่จะเสิร์ฟในร้านอาหาร หรือในงานเลี้ยงต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้ที่ควบคุมน้ำหนักส่วนใหญ่มักจะเลือกเครื่องดื่มชนิดนี้แทนเครื่องดื่มที่มีรสหวานอื่นๆ

2) น้ำผลไม้
น้ำผลไม้เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์มากอย่างหนึ่ง และต้องเป็นน้ำผลไม้ที่สดๆ จึงจะได้คุณค่ามาก ผู้ผลิตมักจะนำผลไม้ที่มีมากในฤดูกาลมาคั้นเอาแต่น้ำ นำมาเคี่ยวกับน้ำตาล หรือนำผลไม้สดมาปั่นผสมกับน้ำแข็ง น้ำเชื่อม

การแยกสารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม

การแยกสาร หมายถึง
การที่แยกสารที่ผสมกันตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไปออกจากกัน เพื่อนำสารที่ได้นั้นไปใช้ประโยชน์ตามต้องการ ซึ่งสามารถจำแนกได้คือ การแยกสารเนื้อผสม และการแยกสารเนื้อเดียว
สารเนื้อผสม หมายถึง สารที่มีลักษณะเนื้อสารไม่ผสมกลมกลืนกันเป็นเนื้อเดียวกันเกิดจาก
สารอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมกันโดยเนื้อสารจะแยกกันเป็นส่วน ๆ

การแยกสารเนื้อผสมอาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การกรอง การใช้กรวยแยก การใช้อำนาจแม่เหล็ก การระเหิด การระเหยจนแห้ง ซึ่งเป็นการแยกสารโดยวิธีทางกายภาพทั้งสิ้น สารที่แยกได้จะมีสมบัติเหมือนเดิม

1. การกรอง
เป็นวิธีการแยกสารออกจากกันระหว่างของแข็งกับของเหลว หรือใช้แยกสารแขวนลอยออกจากน้ำ ซึ่งใช้กันมากในทางเคมี โดยเฉพาะในห้องปฏิบัติการที่กรองสารในปริมาณน้อย ๆ การกรองนั้นจะต้องเทสารผ่านกระดาษกรอง อนุภาคของแข็งที่ลอดผ่านรูกระดาษกรองไม่ได้จะอยู่บนกระดาษกรอง ส่วนน้ำและสารที่ละลายน้ำได้จะผ่านกระดาษกรองลงสู่ภาชนะ

2. การใช้กรวยแยก
เป็นวิธีที่ใช้แยกสารเนื้อผสมที่เป็นของเหลว 2 ชนิดที่ไม่ละลายออกจากกัน โดยของเหลวทั้งสองนั้นแยกเป็นชั้นเห็นได้ชัดเจน เช่น น้ำกับน้ำมัน เป็นต้น การแยกโดยวิธีนี้จะนำของเหลวใส่ในกรวยแยก แล้วไขของเหลวที่อยู่ในชั้นล่างซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าชั้น
บนออกสู่ภาชนะจนหมด แล้วจึงค่อย ๆ ไขของเหลวที่ที่เหลือใส่ภาชนะใหม่
3. การใช้อำนาจแม่เหล็ก
เป็นวิธีที่ใช้แยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสมซึ่งองค์ประกอบหนึ่งมีสมบัติในการถูกแม่เหล็กดูดได้ เช่น ของผสมระหว่างผงเหล็กกับผงกำมะถัน โดยใช้แม่เหล็กถูไปมาบนแผ่นกระดาษที่วางทับของผสมทั้งสอง แม่เหล็กจะดูดผงเหล็กแยกออกมา
4. การระเหิด
คือ ปรากฏการณ์ที่สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นก๊าซหรือไอโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวก่อน ใช้แยกสารเนื้อผสมที่เป็นของแข็งออกจากกัน โดยของแข็งชนิดหนึ่งมีสมบัติระเหิดได้ เช่น ลูกเหม็น พิมเสน น้ำแข็งแห้ง การบูรกับเกลือแกง เมื่อให้ความร้อนการบูรจะกลายเป็นไอแยกออกจากเกลือแกง ดักไอของการบูรด้วยภาชนะที่เย็นจะได้การบูรเป็นของแข็งแยกออกมา
5. การใช้มือหยิบออกหรือเขี่ยออก
ใช้แยกของผสมเนื้อผสม ที่ของผสมมีขนาดโตพอที่จะหยิบออกหรือเขี่ยออกได้ เช่น ข้าวสารที่มีเมล็ดข้าวเปลือกปนอยู่
6. การตกตะกอน
ใช้แยกของผสมเนื้อผสมที่เป็นของแข็งแขวนลอยอยู่ในของเหลว ทำได้โดยนำของผสมนั้นวางทิ้งไว้ให้สารแขวนลอยค่อย ๆ ตกตะกอนนอนก้น ในกรณีที่ตะกอนเบามากถ้าต้องการให้ตกตะกอนเร็วขึ้นอาจทำได้โดย ใช้สารตัวกลางให้อนุภาคของตะกอนมาเกาะ เมื่อมีมวลมากขึ้น น้ำหนักจะมากขึ้นจะตกตะกอนได้เร็วขึ้น เช่น ใช้สารส้มแกว่ง อนุภาคของสารส้มจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้โมเลกุลของสารที่ต้องการตกตะกอนมาเกาะ ตะกอนจะตกเร็วขึ้น

การแยกาสารเนื้อเดียว

สารเนื้อเดียว เป็นสารทีเกิดขึ้นโดยทั่วไป มองเห็นเป็นเนื้อเดียวกันโดยตลอด แบ่งเป็นพวก ได้แก่ ธาตุ สารละลาย และสารประกอบ ในการแยกสารเนื้อเดียวที่อยู่ในรูปของสารละลายนั้น สามารถทำได้โดยวิธีการดังต่อไปนี้

1. การระเหยจนแห้ง
ใช้ในกรณีที่ตัวถูกละลายเป็นของแข็งและตัวทำละลายเป็นของเหลว หรือของแข็งละลายในของเหลว เช่น เมื่อนำเกลือแกงซึ่งเป็นของแข็งมาละลายในน้ำจะได้ของผสมเนื้อเดียวกัน เรียกว่า สารละลายเกลือแกง ในกรณีที่เราต้องการแยกเกลือแกงและน้ำออกจากสาระลายเกลือแกงทำได้โดยการนำสารดังกล่าวมาให้ความร้อน เพื่อระเหยตัวละลาย ในที่นี้คือน้ำออกไป สิ่งที่เหลืออยู่ในภาชนะคือตัวถูกละลาย ที่เป็นของแข็งในที่นี้คือ เกลือแกง

2. โครมาโตกราฟี (Chromatography)
เป็นเทคนิคการแยกสารเนื้อเดียวออกจากกันให้เป็นสารบริสุทธิ์ โดยอาศัยหลักการที่ว่า "สารแต่ละชนิดมีความสามารถในการละลายต่างกัน และถูกดูดซับต่างกัน จึงทำให้สารแต่ละชนิดแยกออกจากกันได้" ดังนั้นการแยกสารด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟี จึงต้องอาศัยสมบัติของสารดังนี้

2.1 สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลายชนิดเดียวกันได้ดี ไม่เท่ากัน สารที่ละลายได้ดีจะเคลื่อนที่ไปได้เร็ว
2.2 สารต่างชนิดกันถูกดูดซับโดยตัวดูดซับได้ดีไม่เท่ากันสารที่ถูกดูดซับได้ดีจะเคลื่อนที่ได้ช้า
2.3 สารที่ละลายในตัวทำละลายได้ดี และถูกดูดซับน้อยจะเคลื่อนที่ได้เร็วไปได้ไกล
2.4 สารที่ละลายในตัวทำละลายได้น้อยและถูกดูดซับมากจะเคลื่อนที่ช้าไปได้ไม่ไกล
ประโยชน์ของโครมาโตกราฟี
1. ใช้ในการแยกสารเนื้อเดียวที่มีส่วนผสมหลาย ๆ ชนิด ให้ได้เป็นสารบริสุทธิ์
2. ใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณและชนิดของสาร
3. ใช้ทดสอบหรือแยกสารตัวอย่างที่มีปริมาณน้อย ๆ ได้
4. ใช้แยกสารได้ทั้งสารที่มีสีและไม่มีสี
3. การกลั่น
เป็นกระบวนการที่ทำให้ของเหลวได้รับความร้อนจนกลายเป็นไอ ทำให้แยกตัวทำละลายและตัวถูกละลายที่ต่างก็เป็นของเหลวออกจากกันได้โโยอาศัยความแตกต่างกันของจุดเดือด การกลั่นจะใช้ได้ผลต่อเมื่อตัวทำละลายและตัวถูกละลายเดือดที่อุณหภูมิต่างกันค่อนข้างมาก(ต่างกันอย่างน้อย 20 ๐C) เช่น การแยกน้ำจากน้ำทะเล การแยกน้ำจากน้ำคลอง การแยกน้ำจากน้ำเกลือ หรือน้ำเชื่อม เป็นต้น

4. การตกผลึก
เป็นกระบวนการแยกของแข็งที่ละลายในตัวทำละลายที่เป็นของเหลว โดยทำให้สารละลายอิ่มตัวที่อุณหภูมิสูง แล้วปล่อยให้สารละลายเย็นลง ของแข็งจะตกผลึกออกมา

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สารละลายกรด - เบส

กรด (Acid ) หมายถึง สารประกอบที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนกับธาตุอโลหะ เช่น

กรดไฮโดรคลอริก (HCl) กรดซัลฟิวริกหรือกรดกัมมะถัน (H2SO4) สารละลายกรด มีสมบัติ ดังนี้

1. มีรสเปรี้ยว

2. มีฤทธิ์ในการกัดกร่อน

3. ทำปฏิกิริยากับโลหะได้ก๊าซไฮโดรเจน

4. ทำปฏิกิริยากับหินปูนหรือสารประกอบคาร์บอเนต ได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

5. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง

6. นำไฟฟ้าได้

ตัวอย่างสารละลายกรด

ชื่อสารละลายกรด สูตรเคมี

กรดไฮโดรคลอริก(กรดเกลือ) HCl

กรดซัลฟิวริก H2SO4

กรดอะซิติก(กรดน้ำส้ม) CH3COOH

กรดไนตริก HNO3

กรดฟอสฟอริก H3PO4

กรดคาร์บอนิก H2CO3



เบส (Base) เป็นสารประกอบไฮดรอกไซด์ของโลหะ เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)

โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) เป็นต้น สารละลายเบสมีสมบัติ ดังนี้

1. มีรสฝาดลิ้น

2. ลื่นมือคล้ายสบู่

3. มีฤทธิ์ในการกัดกร่อน

4. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน

5. นำไฟฟ้าได้

ตัวอย่างสารละลายเบส

ชื่อสารละลายเบส สูตรเคมี

โซเดียมไฮดรอกไซด์(โซดาไฟ) NaOH

โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ KOH

แคลเซียมไฮดรอกไซด์ Ca(OH) 2

แมกเนเซียมไฮดรอกไซด์ Mg(OH) 2

pH ของสารละลาย

การบอกความเป็นกรด – เบส ของสารละลาย นอกจากจะใช้สมบัติดังที่กล่าวมาแล้ว เราสามารถใช้ค่า pH บอกความเป็นกรด – เบส ของสารละลาย

pH ของสารละลาย เป็นมาตราส่วนที่ใช้บอกความเป็นกรด- เบส ของสารละลาย มีค่าอยู่ระหว่าง0 – 14 โดยกำหนดมาตรส่วน ดังนี้

สารละลายที่มีค่า pH เท่ากับ 7 จะมีสมบัติเป็นกลาง pH น้อยกว่า 7 มีสมบัติเป็นกรด pH มากกว่า 7 มีสมบัติเป็นเบส เราสามารถหาค่า pH ของสารละลายได้จากการทดสอบด้วย กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์หรือ pH มิเตอร์

กรด กลาง เบส
pH 0----------------->7---------------->14

สารละลายที่มีค่า pH เท่ากับ 7 จะมีสมบัติเป็นกลาง pH น้อยกว่า 7 มีสมบัติเป็นกรด pH มากกว่า 7 มีสมบัติเป็นเบส เราสามารถหาค่า pH ของสารละลายได้จากการทดสอบด้วย กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์หรือ pH มิเตอร์

สารเนื้อผสม

สารเนื้อผสม

สารเนื้อผสมเป็นของผสมที่ได้จากการนำสารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมารวมกันแล้วสารเหล่านั้น

ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน หรือแยกชั้นจากกัน สามารถมองเห็นและระบุชนิดขององค์ประกอบได้ เช่น พริกกับเกลือ สามารถบอกได้ว่าส่วนไหนคือพริก ส่วนไหนคือเกลือ องค์ประกอบแต่ละส่วนยังคงสมบัติเดิม ทุกประการ

เราสามารถแบ่งส่วนประกอบของสารเนื้อผสมออกเป็น 2 ส่วนเหมือนสารละลาย คือ ตัวทำละลาย และ ตัวถูกละลาย แต่ขนาดอนุภาคของตัวถูกละลายในสารเนื้อผสมมีขนาดใหญ่กว่าขนาดอนุภาคของตัวถูกละลาย ในสารละลาย ดังนี้

เปรียบเทียบขนาดของอนุภาคในสารละลายกับสารเนื้อผสม

ชนิดของสาร เส้นผ่าศูนย์กลางของอนุภาค(cm)

1. สารละลาย น้อยกว่า 10-7

2. คอลลอยด์ 10-7– 10-4

3. สารแขวนลอย มากกว่า 10-4


คอลลอยด์ (Colloid) เป็นสารเนื้อผสมที่มีขนาดอนุภาคของตัวถูกละลายใหญ่กว่าอนุภาคในสารละลาย

มีลักษณะข้นคล้ายกาว เช่น นมสด วุ้น เยลลี่ ฟองน้ำ สบู่ น้ำสลัด น้ำแป้ง เป็นต้น องค์ประกอบของคอลลอยด์

จะไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน จะแยกชั้นออกจากกัน จึงต้องมีตัวประสาน ( Emulsifier) เช่น น้ำสบู่เป็นตัวประสานให้น้ำกับน้ำมันไม่แยกชั้นจากกัน โดยน้ำมันจะแตกเป็นเม็ดเล็กๆ แทรกอยู่ในน้ำ สมบัติอีกอย่างหนึ่งของคอลลอยด์ คือ เมื่อแสงเดินทางผ่านคอลลอยด์ จะมองเห็นเป็น ลำแสง เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ปรากฏการณ์ทินดอลล์(Tyndall effect)


สารแขวนลอย (Suspension) เป็นสารเนื้อผสมที่มีขนาดอนุภาคใหญ่กว่าอนุภาคในคอลลอยด์ สามารถ

มองเห็นส่วยผสมได้ชัดเจน เช่น น้ำโคลน คอนกรีต น้ำพริก ดินปืน เป็นต้น

สารละลาย

สารละลาย (Solution)

สารละลาย เป็นของผสมเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปละลายรวมเป็น เนื้อเดียวกัน มีสัดส่วนนขององค์ประกอบเหมือนกันตลอดทั้งสารละลายนั้น สารละลายจะมีสมบัติ บางประการเหมือนสมบัติของสารบริสุทธิ์ที่เป็นองค์ประกอบ เราสามารถแบ่งองค์ประกอบของสารละลาย

ได้เป็น 2 ชนิด คือ ตัวทำละลาย (Solvent) ตัวถูกละลาย (Solute) โดยมีเกณฑ์ในการกำหนด ดังนี้

1. สารละลายมีสถานะเหมือนสารใด ให้สารนั้นเป็นตัวทำละลาย เช่น สารละลายโซเดียมคลอไรด์

ประกอบด้วย น้ำ กับ โซเดียมคลอไรด์ สารละลายมีสถานะเป็นของเหลวเหมือนน้ำ ดังนั้น

น้ำ เป็นตัวทำละลาย โซเดียมคลอไรด์ เป็นตัวถูกละลาย

2. ในกรณีที่สารละลาย และสารบริสุทธิ์ที่เป็นองค์ประกอบ มีสถานะเดียวกัน สารใดมีปริมาณ

มากที่สุด สารนั้นเป็นตัวทำละลาย เช่น นาก เป็นสารละลายที่มีสถานะเป็นของแข็งเกิดจาก ทองคำ

ผสมกับทองแดง โดย นาก 40 เปอร์เซ็นต์ ประกอบด้วย ทองคำ ร้อยละ 40 ทองแดงร้อยละ 60 ดังนั้น

ทองคำเป็นตัวถูกละลาย ทองแดงเป็นตัวทำละลาย ถ้านาก 60 เปอร์เซ็นต์ จะประกอบด้วย ทองคำ

ร้อยละ 60 ทองแดงร้อยละ 40 ดังนั้น ทองคำเป็นตัวทำละลาย

เปรียบเทียบสมบัติของสารละลายกับสมบัติขององค์ประกอบ

ตัวทำละลาย ตัวถูกละลาย สารละลาย

น้ำ เป็นของเหลว ไม่มีรส เกลือแกง เป็นของแข็ง มีรสเค็ม สารละลายเกลือ เป็นของเหลว มีรสเค็ม

น้ำ เป็นของเหลว ไม่มีรสและกลิ่น แอลกอฮอล์ เป็นของเหลว มีกลิ่น สารละลายแอลกอฮอล์

เป็นของเหลวมีกลิ่นแอลกอฮอล์

การบูร เป็นของแข็งสีขาว มีกลิ่นเฉพาะตัว พิมเสน เป็นของแข็งสีขาว มีกลิ่นเฉพาะตัว สารละลายเป็นของแข็งสีขาวมีกลิ่นของพิมเสนและการบูร

จะเห็นว่าสารละลายมีสมบัติของทั้งตัวทำละลายและตัวถูกละลายอยู่ด้วยกัน

สถานะของสารละลาย

สารละลายมีได้ทั้ง 3 สถานะ ดังนี้

1. สารละลายที่เป็นก๊าซ เช่น อากาศ ประกอบด้วย ก๊าซไนโตรเจนร้อยละ 80 ก๊าซออกซิเจน

ร้อยละ 20 และก๊าซอื่นๆ ร้อยละ 2 โดยมวล

2. สารละลายที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเกลือ น้ำเชื่อม ทิงเจอร์ไอโอดีน เป็นต้น

3. สารละลายที่เป็นของแข็ง เช่น นาก ทองเหลือง ทองสัมฤทธิ์ ฟิวส์ เป็นต้น

สารรอบตัว

สารต่าง ๆ รอบตัวมีสมบัติทั้งที่คล้ายและแตกต่างกันสมบัติของสาร
สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มลักษณะเนื้อสารและขนาดอนุภาคสารก็เป็น
เกณฑ์หนึ่งในการจัดกลุ่มสารถ้าใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ในการจัดกลุ่มจะจัดได้เป็น
สารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสม ถ้าใช้ขนาดอนุภาคของสารเป็นเกณฑ์ จะจัดกลุ่มของเหลวได้เป็นสารแขวนลอย คอลลอยด์และสารละลายสาร
แต่ละกลุ่มมีคุณสมบัติและองค์ประกอบต่างกัน

สารหรือสสาร (Matter) หมายถึง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวของเรา ซึ่งเราสามารถสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 มีมวล มีรูปร่าง มีปริมาตร ต้องการที่อยู่ และมีการเปลี่ยนแปลง

ตัวอย่างสารที่อยู่รอบๆตัวเราและพบเห็นเป็นประจำ เช่น น้ำ เงิน ทองคำ ทองแดง เหล็ก น้ำมันเชื้อเพิง เกลือแกง น้ำปลา หิน ทราย คอนกรีต ปูนซีเมนต์ เป็นต้น นักเรียนทราบหรือไม่ว่า ทำไมสารเหล่านี้จึงมีลักษณะแตกต่างกัน

2.1 สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวหรือลักษณะประจำตัวของสาร เช่น สถานะ สี กลิ่น รส การละลาย จุดเดือด การนำไฟฟ้า การเกิดสนิม การเผาไหม้ เป็นต้น

สมบัติต่างๆของสาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

ก. สมบัติทางกายภาพ หมายถึง สมบัติของสารที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายจากรูปร่างลักษณะ

ภายนอก เช่น สถานะ สี กลิ่น รส รูปร่าง ปริมาตร การนำไฟฟ้า การนำความร้อน ความหนาแน่น ความถ่วงจำเพาะ จุดเดือด จุดหลอมเหลว การละลาย เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของสาร ไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น เช่น การเปลี่ยนสถานะ การเกิดสารละลาย การเปลี่ยนอุณหภูมิ การสึกกร่อน เป็นต้น

ข. สมบัติทางเคมี หมายถึง สมบัติที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบภายในของสาร และการเกิด

ปฏิกิริยาเคมี เช่น การเผาไหม้ การเกิดสนิม การผุพัง การระเบิด เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงทางเคมีหรือการเกิดปฏิกิริยาเคมี จะต้องมีสารใหม่เกิดขึ้นเสมอ มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายใน และมีผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพของสารด้วย ทำให้สารใหม่ที่เกิดขึ้น มีสมบัติแตกต่างไปจากสารเดิม เช่น การเกิดสนิมเหล็ก การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การสังเคราะห์ด้วยแสง เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือทางเคมี การระเหยของน้ำ การต้มน้ำ ข้าวสารเปลี่ยนเป็นข้าวสุก เกลือละลายน้ำ ผลไม้ดิบเปลี่ยนเป็นผลไม้สุก การจุดเทียนไข เนื้อดิบเป็นเนื้อสุก

ให้นักเรียนยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของสารทั้งทางกายภาพ และทางเคมี

และนี่คือตัวอย่างลักษณะที่สารมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

1. มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างภายนอก

2. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายใน

3. ไม่มีสารใหม่เกิดขึ้น ภายหลังการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารยังคงเหมือนเดิม

4. สามารถทำให้กลับสู่สภาพเดิมได้ง่าย

การเปลี่ยนแปลงทางเคมี

1. มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างภายนอก

2. มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายใน

3. มีสารใหม่เกิดขึ้น ภายหลังการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารแตกต่างไป จากเดิม

4. ทำให้กลับสู่สภาพเดิมได้ยาก